โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการเงินการธนาคาร รุ่นที่ 10

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการเงินการธนาคาร รุ่นที่ 10

หลักการและเหตุผล

ในการประกอบธุรกิจมีประเด็นต่าง ๆ มากมายที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะประเด็นด้านการเงินซึ่งเปรียบเสมือนสายเลือดของธุรกิจที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงกิจการย่อมมีความสำคัญ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นแหล่งเงินที่สำคัญสำหรับธุรกิจจึงย่อมมีความสำคัญในการประกอบธุรกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะมีหน่วยงานของรัฐ เช่น ธนาคารกลาง เข้ามากำกับดูแล อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจกฎหมาย หลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคารยังมีความจำกัดอยู่มาก เนื่องจากความซับซ้อนของการประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร และการให้ความเห็นหรือการตีความหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ด้านการเงินการธนาคารที่อาจจะแตกต่างกันไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเงินการธนาคาร ได้แก่ ตลาดเงิน vs ตลาดทุน กฎหมายและกฎเกณฑ์สากลที่นำมาใช้กับสถาบันการเงินไทย Public Banking Law : พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน  สินเชื่อ : ข้อสัญญาและข้อกฎหมายที่สำคัญ หลักเกณฑ์ วิธีการและแนวปฏิบัติในการวิเคราะห์สินเชื่อของสถาบันการเงิน Types of Lending : รูปแบบและความหลากหลายของการให้สินเชื่อ ฝากทรัพย์ : กฎหมายและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ  ประเด็นปัญหาการบังคับใช้และข้อถกเถียงเกี่ยวกับ พ.ร.บ. หลักประกัน
ทางธุรกิจ พ.ศ. 2557 กฎหมายค้ำประกัน จำนอง จำนำ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ GDPR : ผลกระทบที่เกี่ยวกับธนาคารพณิชย์ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.  กับการดำเนินงานสถาบันการเงินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ : ข้อสัญญาและข้อกฎหมาย ปัญหาและอุปสรรค กฎหมายล้มละลายกับธนาคารพาณิชย์ Finance and Payment Contract : L/C ข้อมูลเครดิตกับการขอสินเชื่อ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว
และพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มบุคคลเหล่านี้  จึงได้เปิดอบรมหลักสูตรพิเศษแก่ผู้สนใจโดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมายมาก่อน  ทั้งนี้คณะนิติศาสตร์  มุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายการเงินการธนาคารในเบื้องต้น  รูปแบบการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับความจำเป็นที่แท้จริงที่ควรรู้ในการดำเนินธุรกิจ  และมีชั่วโมงสัมมนาเพื่อเป็นการทบทวนหลักกฎหมายที่ศึกษามาและมีการตอบปัญหา  คำถามต่าง ๆ ในห้องสัมมนาด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้กับนักกฎหมาย นักธุรกิจ และบุคคลภายนอกผู้สนใจในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการการเงินการธนาคาร
  2. เพื่อให้นักกฎหมาย นักธุรกิจ  และบุคคลภายนอกผู้สนใจได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะความรู้
    ความเข้าใจ
  3. เพื่อให้นักกฎหมาย นักธุรกิจ และบุคคลภายนอกผู้สนใจนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
  4. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการเงินการธนาคารด้วยกัน

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

นักกฎหมาย นักธุรกิจ นักลงทุน สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และบุคคลภายนอกผู้สนใจในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการการเงินการธนาคาร

ระยะเวลาอบรม

ระหว่างวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม  ถึงวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566
อบรมทุกวันจันทร์ วันอังคาร เวลา 17.30 – 20.30 น.
และวันเสาร์ เวลา 9.00 – 16.00 น.

อบรมรูปแบบ Hybrid ทั้ง Online & Onsite

ณ คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ (รูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Ms Teams)

หลักสูตรการอบรม

ลำดับ หัวข้อบรรยาย
1 Overview of the course
2 กฎหมายค้ำประกัน จำนอง จำนำ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
3 กฎหมายและกฎเกณฑ์สากลที่นำมาใช้กับสถาบันการเงินไทย/หน่วยงาน องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน
4 Public Banking Law : พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน
5 สินเชื่อ : ข้อสัญญาและข้อกฎหมายที่สำคัญ
6 หลักเกณฑ์ วิธีการและแนวปฏิบัติในการวิเคราะห์สินเชื่อของสถาบันการเงิน
7 Types of Lending : รูปแบบและความหลากหลายของการให้สินเชื่อ และรายได้ของธนาคารที่มิใช่สินเชื่อ
8 ฝากทรัพย์ : กฎหมายและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง
9 ตลาดเงิน VS ตลาดทุน
10 สาระสำคัญของ พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
11 กฎหมายล้มละลายกับธนาคารพาณิชย์
12 ประเด็นปัญหาการบังคับใช้และข้อถกเถียงเกี่ยวกับ พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
13 สาระสำคัญ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปัญหาและวิธีปฏิบัติให้เป็นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกรณีศึกษา
14 สัมมนาต่างจังหวัด Revision and Case Study 1
15 Bank Guarantee ประเภทต่าง ๆ และตัวอย่างปัญหาข้อสัญญาและข้อกฎหมายและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
16 ข้อมูลเครดิตกับการขอสินเชื่อ
17 Forward Contract/Future /Option
18 เลตเตอร์ออฟเครดิต : เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ และปํญหาที่เกี่ยวข้อง
19 Finance and Payment Contract : L/C
20 Interesting Issues in Banking Industry 1

บทเรียนจากวิกฤตสถาบันการเงิน

21 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจธนาคาร
22 Digital Cheque: พัฒนาการของการใช้เช็คกระดาษ ICAS และ D Chequและขอบเขตงานของฝ่าย Compliance: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
23 การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการบังคับหลักประกันในคดีที่สถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้
24 Revision and Case Study 2
25 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ : ข้อสัญญาและข้อกฎหมาย ปัญหาและอุปสรรค
26 Digital infrastructure and Digital disruption

สัมมนาโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายการเงินการธนาคาร

27 หยวนดิจิทัล กับ CBDC ประเทศไทย

การซื้อขายและการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

28 กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับสถาบันการเงิน
29 สสว. : บทบาทหน้าที่/ปัญหาและอุปสรรค และกรณีศึกษา

บสย. : บทบาทหน้าที่/ปัญหาและอุปสรรค และกรณีศึกษา

30 ธนาคารกับการฟอกเงิน
31  การบริหารทรัพย์สิน NPA : ข้อสัญญาที่น่าสนใจ

Electronic Signature vs Digital Signature กับการพิสูจน์ลายมือชื่อปลอมของสถาบันการเงิน

32 Interesting Issues in Banking Industry 2:
33  Good Governance and Corruption in Financial industry
34 Fraud
35 Regulatory Sandbox

ธนาคารกับสิทธิมนุษยชน

36 Conflict of Interest in banking Industry
37 Revision and Case Study 3
38 คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการธนาคาร
39 สถาบันคุ้มครองเงินฝากกับธุรกิจสถาบันการเงิน
40 พ.ร.บ.ข้อสัญญาไม่เป็นธรรมกับกิจการธนาคารพาณิชย์
41 ธุรกิจประกันภัยกับสถาบันการเงิน
42  Changes in Banking Industry
หมายเหตุ ตารางบรรยาย/กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

หมายเหตุ    :

1. ตารางบรรยายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

2. การบรรยาย 42 ครั้ง x 3 ชม. = 126 ชม.

3. สัมมนาต่างจังหวัด 1 ครั้ง (เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์)

 

วิทยากร

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากภาครัฐและเอกชน

ค่าอบรม

ค่าธรรมเนียมการอบรม (อบรมรูปแบบ Hybrid ทั้ง online & onsite )
1. กรณีสมัครและชำระเงินตั้งแต่บัดนี้ ถึงภายในวันที่ 14 ก.ค.66
(ได้รับส่วนลด 10% ชำระเพียงท่านละ 25,200 บาท )

2. กรณีสมัครและชำระเงินตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.66 เป็นต้นไป
(ค่าอบรมท่านละ 28,000 บาท)

– บริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ ลดหย่อนภาษีได้ 200%
– ผู้เข้าอบรมจากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกค่าสมัครเข้ารับการอบรมจากเงินงบประมาณของต้นสังกัดตามระเบียบว่าด้วยการอบรมของกระทรวงการคลัง

 

ช่องทางการชำระเงิน :

– คณะนิติศาสตร์ มธ. (ศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย)

– ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน)

– เลขที่บัญชี 905-0-02515-5

แจ้งแนบหลักฐานการชำระเงิน ได้ที่ https://bit.ly/3tdxLBV

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Line : @leteclawtu
Email: letec.lawtu@gmail.com
โทรศัพท์: 0 2613 2965
www.letec.law.tu.ac.th

สถานที่อบรม

ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (โครงการฯ มีบริการอบรมแบบออนไลน์สำหรับผู้อบรมที่ไม่สะดวกเข้าอบรมในห้อง)

วุฒิบัตร

ผู้ที่เข้าอบรมอย่างน้อย 80% จะได้รับประกาศนียบัตรจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระหว่างวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566
อบรมทุกวันจันทร์ วันอังคาร เวลา 17.30 – 20.30 น.
และวันเสาร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. อบรมรูปแบบ Hybrid ทั้ง Online & Onsite

ณ คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ และรูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Ms Teams