โครงการอบรมหลักสูตรกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ รุ่นที่ 6

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมหลักสูตรกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ รุ่นที่ 6

หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและส่งเสริมการอนุญาโตตุลาการ โดยกำหนดหลักการในการร่วมมือไว้ประการหนึ่ง คือ การจัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการให้แก่นักกฎหมาย และบุคคลทั่วไปเพื่อเตรียมความพร้อมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพ และเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำหลักสูตรกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว

หลักสูตรกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ จะเปิดรับสมัครอบรมปีละ 2 รุ่น ดังนี้
– หลักสูตรต้นปี เป็นหลักสูตรเนื้อหามุ่งเน้นสำหรับนักกฎหมาย
– หลักสูตรครึ่งปีหลัง เป็นหลักสูตรทั่วไป (จะมีเพิ่มเติมส่วนเนื้อหาของกฎหมายมากขึ้น)

ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไว้เป็นพิเศษสำหรับหลักสูตรต้นปี และหลักสูตรครึ่งปีหลัง เพียงแต่เนื้อหาการบรรยายของทั้งสองหลักสูตรนี้จะมีความแตกต่างกันเท่านั้น (ผู้ที่เป็นนักกฎหมายและผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายสามารถเลือกสมัครได้ทั้งสองหลักสูตร)

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักกฎหมายที่สำคัญต่อการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่ใช้ในการตัดสินคดี เช่น กฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎหมายปกครอง หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เช่น พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้ การอบรมยังได้จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสฝึกปฏิบัติและดูงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการด้วย เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมมีความพร้อมทำหน้าที่ในฐานะอนุญาโตตุลาการ หรือในฐานะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

ผู้สนใจทั่วไป นักกฎหมาย ทนายความ ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา

 

 

ระยะเวลาอบรม

วันเวลาอบรม : ระหว่างวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม – 26 ตุลาคม 2567

จำนวนชั่วโมงอบรม :  61 ชั่วโมง โดยอบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
(ยกเว้นวันสุดท้ายเวลา 9.00-17.00 น.)

 

 

หลักสูตรการอบรม

ครั้งที่ วันเวลาบรรยาย หัวข้อ ผู้บรรยาย
1.
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น.
การระงับข้อพิพาท และการระงับข้อพิพาททางเลือก
นายมนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ผศ.ดร.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
2.
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
การค้าระหว่างประเทศกลาง
3.
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป และหนี้
รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
4.
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
กฎหมายนิติกรรมสัญญา
อ.ดร.กีระเกียรติ พระทัย
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
5.
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
กฎหมายนิติกรรมสัญญา (ต่อ)
อ.ดร.กีระเกียรติ พระทัย
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
6.
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
ผศ.ดร.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
7.
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ต่อ)
ผศ.ดร.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
8.
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สัญญาอนุญาโตตุลาการ และการร่างสัญญาอนุญาโตตุลาการ
นายเจตน์สฤษฎิ์ สหัสสะรังษี
Senior Associate, Herbert Smith Freehills

นายโกสิทธิ์ ประสิทธิ์เวโรจน์
Associate, Baker & McKenzie
9.
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและ
ภาระการพิสูจน์
นางสาวดนยา ตังธนกานนท์
ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการ

นางสาวสุรัสวดี เจียมสุวรรณ
ที่ปรึกษากฎหมายและทนายความ
10.
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินกระบวนพิจารณา

(การประชุมกระบวนพิจารณา, การทำคำสั่ง, การกำหนดประเด็นพิพาท, การรับฟังพยานหลักฐาน, การนั่งพิจารณา, การทำคำชี้ขาด)
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์
รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.นิลุบล เลิศนุวัฒน์
ผศ.ดร.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
11.
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
เอกสารเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา
(คำคู่ความ คำร้อง คำแถลง รายงานการประชุม คำสั่ง)
ทีมจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ
12.
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
อนุญาโตตุลาการจำลอง
ทีมจากสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย
13.
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น.
บทบาทของศาลในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการตรวจสอบคำชี้ขาด
นายสรวิศ ลิมปรังษี
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา
14.
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ
ศ.(พิเศษ)วิชัย อริยนันทกะ
อดีตผู้พิพากษาอาวุโสประจำศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
การค้าระหว่างประเทศ และที่ปรึกษาสถาบันอนุญาโตตุลาการ
15.
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
ปัญหา/กรณีศึกษาในข้อพิพาทการก่อสร้าง
นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์
นายกัมพล กิตติพงษ์พัฒนา
นายอุกฤษฏ์ ศรพรหม
ชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง
16.
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
การกำหนดค่าสินไหมทดแทน
รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
งดบรรยายวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567
17.
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
นางสาวนพมาศ ธรรมธีรเดโช
Partner, Tilleke & Gibbins

นายพิศุทธิ์ อรรถกมล
Partner, Baker & McKenzie

นายรัฐการ บุญเหนือ
Partner, Watson Farley & Williams
18.
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น.
อนุญาโตตุลาการในศาล และพัฒนาการของการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย
นางธารทิพย์ จงจักรพันธ์
ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 7

นางสาวดนยา ตังธนกานนท์
ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการ
19.
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 – 12.00 น.
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำคำชี้ขาด
ศ.ดร.สหธน รัตนไพจิตร
ผศ.ดร.กมลวรรณ  จิรวิศิษฎ์
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
20.
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 – 17.00 น.
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและ
ทำคำชี้ขาด
นางสาวดนยา ตังธนกานนท์
ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการ

นางสาวสุรัสวดี เจียมสุวรรณ
ที่ปรึกษากฎหมายและทนายความ

วิทยากร

วิทยากรจากคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันอนุญาโตตุลาการ
สำนักงานศาลยุติธรรม สภาทนายความ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และหน่วยงานราชการ เป็นต้น

ค่าอบรม

เงื่อนไขการสมัครและชำระค่าอบรม        
– สามารถสมัครและชำระเงินภายในวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567
–  ค่าลงทะเบียน ท่านละ 19,000 บาท (รวมเอกสาร อาหาร และอาหารว่าง)
– รับผู้เข้าอบรมไม่เกิน 55 ท่าน (ปิดรับลงทะเบียนเมื่อครบจำนวน)
การชำระเงิน/Payment:
เงินโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์/
Money transfer to BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

            branch Thammasat university – tha prachan
เลขที่บัญชี/account number: 905-0-02515-5
ชื่อบัญชี/account name: คณะนิติศาสตร์ มธ. (ศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย) Account name: Law of TU (Legal Training and Education)

แนบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมอบรม  พร้อมแจ้งที่อยู่ในการออกใบเสร็จ ได้ที่ลิ้งค์
Please submit proof of payment with notification. Name, Address To issue a receipt at  https://bit.ly/3hkQCbv

สถานที่อบรม

รูปแบบการอบรม : Hybrid​  ทั้ง online และ onsite

  • online (Cisco Webex) โดยคณะฯ จะไม่มีการบันทึกเทปวิดีโอ หรือบันทึกเสียงการบรรยายเพื่อการดูย้อนหลัง ซึ่งการบรรยายและเอกสารประกอบการบรรยายเป็นลิขสิทธิ์ของการอบรม
    ไม่อนุญาตให้มี การบันทึก หรือทำซ้ำ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บรรยายและโครงการฯ
  • onsite ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

วุฒิบัตร

ผู้ที่เข้าอบรมอย่างน้อย 80% จะได้รับประกาศนียบัตรจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

.

อบรมระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม – 26 ตุลาคม 2567  เฉพาะวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น. จำนวน 61 ชม.   ณ คณะนิติศาสตร์ มธ. (หลักสูตรออกแบบสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมาย (นักกฎหมายก็สามารถเรียนได้)