โครงการอบรมหลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง รุ่นที่ 1 (Thammasat Digital Evidence Plus (TDE PLUS +))

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมหลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง รุ่นที่ 1 (Thammasat Digital Evidence Plus (TDE PLUS +))

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการทำธุรกรรม นิติกรรมสัญญา ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ สื่อสังคมโซเชียลมีเดีย  เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook)  อินสตาแกรม (Instragram) เป็นต้น โดยการทำนิติกรรมสัญญาดังกล่าวจะใช้ระบบยืนยันตัวตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการลงลายมือชื่อแบบดั้งเดิม โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) รหัสผ่าน (Password) รหัสใบหน้า (Face Recognition) การชำระเงินผ่านสกุลเงินดิจิทัล เช่น bitcoin  เป็นต้น

ในด้านการกระทำความผิดทางอาญาได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อกระทำความผิดและกระทำต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการใช้ไลน์ (Line) การใช้โปรแกรมโจมตีเพื่อเจาะรหัสคอมพิวเตอร์ การปล่อยโปรแกรมไวรัสมัลแวร์ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นและจะต้องนำเสนอพยานหลักฐานทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา ล้วนต้องนำเสนอพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างจากพยานหลักฐานในยุคดั้งเดิมที่จัดทำหรือจัดเก็บในรูปแบบของกระดาษ

การดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ยืนยันตัวตนผู้กระทำความผิดหรือเพื่อยืนยันแหล่งที่อยู่ของผู้กระทำความผิด (Alibi)  อาทิเช่น การตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) การตรวจสอบเครือข่ายสัญญาณมือถือ (Cell site) การตรวจสอบหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP Address) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในทางกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการรวบรวมพยานหลักฐานตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปรากฏในรูปของข้อมูลเล็กทรอนิกส์จึงง่ายต่อการถูกแก้ไข ลบ หรือทำลายโดยบุคคลอื่น ดังนั้น ในการแสวงหาพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องจึงต้องใช้กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics) และหลักการ Chain of custody ในการตรวจสอบ หรือป้องกันการแก้ไข ลบ หรือทำลาย รวมถึงการกู้คืนพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หากพยานหลักฐานดังกล่าวถูกแก้ไข ลบ หรือทำลายไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โครงการอบรมหลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงที่จัดขึ้นในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการฝึกอบรมนักกฎหมายให้สามารถเข้าใจเทคโนโลยีและปรับใช้เทคโนโลยีกับหลักกฎหมายพยานหลักฐานชั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานในทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้องแท้จริง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบและเข้าใจหลักการและแนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเตรียมการในการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบและเข้าใจหลักการและเทคนิคการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรับทราบและเข้าใจหลักการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาลไทย
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบและเข้าใจถึงวิธีการสืบค้นพยานหลักฐานและรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ (Social media)
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบและเข้าใจถึงวิธีการดำเนินการทางนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensic) ในคดีหรือข้อพิพาททางกฎหมาย

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ  ผู้พิพากษา ทนายความ นิติกร ที่สนใจและต้องการพัฒนาความรู้ในด้านสืบสวนสอบสวนและการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์

ระยะเวลาอบรม

อบรมระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
ทุกวันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์  เวลา 9.00 – 16.00 น. (หลักสูตร 84 ชั่วโมง)

 

หลักสูตรการอบรม

เนื้อหาการบรรยายคลิกที่นี่ http://letec.law.tu.ac.th/wp-content/uploads/2022/07/thai-evd2-12_0.jpg

หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย
ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ด้านเทคนิคในการใช้โปรแกรม AXIOM (AX200) จากบริษัท Magnet Forensics ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่ไปกับความรู้ทางกฎหมายที่เข้มข้นจากคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การใช้โปรแกรม AXIOM (AX200) ในเชิงปฏิบัติการสืบค้น รวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์จาก Social Media อีเมล เว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ cloud ระบบคอมพิวเตอร์ Crypto และสื่อบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ บรรยายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม AXIOM ที่ได้รับการรับรองจากบริษัท Magnet Forensics

รวมถึงยังได้รับความรู้หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนและรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกฎหมายอาญา (ป.วิ.อ.) (ป.วิ.พ.) (พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ / พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ) ที่บังคับใช้ในประเทศไทยจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมายโดยตรงจากหน่วยงานรัฐ

ทั้งนี้ ยังมีการฝึกภาคปฏิบัติ (workshop) ตามสถานการณ์จำลอง เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ทุกบทเรียน โดยแบ่งกลุ่มผู้อบรมให้เตรียม นำเสนอพยานที่เกี่ยวกับ Digital ในศาลจำลองโดยในการนำเสนอจะต้องวิเคราะห์ประเด็นทางเทคนิครวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การรับฟังพยานหลักฐาน และการเตรียมคดีการนำพยานเข้าสืบ และการซักค้านพยาน หลักฐานทาง Digital ในการใช้พิจารณาคดีในศาลจำลอง ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาทางปฏิบัติข้อกำหนดในกฎหมายเฉพาะ เพื่อต่อสู้คดีในชั้นศาลโดยใช้หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (เพื่อใช้ทดสอบในศาลจำลอง)

ผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับสิทธิในการสอบเพื่อรับ Magnet Forensics Certificate โดยจะต้องผ่านเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. เข้ารับการอบรมในส่วนกฎหมาย ไม่น้อยกว่า 38 ชั่วโมง
2. เข้ารับการอบรมในส่วนเทคนิค ต้องครบ 30 ชั่วโมง เพื่อมีสิทธิในการสอบวัดผล ของ Magnet  Forensics และเพื่อรับประกาศนียบัตรทางเทคนิค

วิทยากร

1) อาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2) ตัวแทนจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรืออัยการ

3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินดิจิทัล / Clouds / Digital Asset / AI

6) ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

7) ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ (Computer Forensic)

8) ตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ
– กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
– สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
– สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
– สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

9) ทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก AXIOM

ค่าอบรม

ค่าสมัครลงทะเบียน :
– ท่านละ 110,000 บาท
– รับผู้เข้าอบรม 40 ท่าน เท่านั้น
– บริษัทและหน่วยงานสามารถลดหย่อนภาษีได้ 200%

Promotion
     – สำหรับผู้สมัครที่ผ่านการอบรมหลักสูตร TDE ขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 1, 2, 3 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาแล้ว จะได้รับส่วนลด 10%  ชำระเพียง 99,000 บาท
– กรณีหน่วยงานที่ส่งผู้สมัครลงทะเบียน ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะได้รับส่วนลด 10%

การชำระเงิน/Payment:
     เงินโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์/
Money transfer to BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED branch Thammasat university – tha prachan
     เลขที่บัญชี/account number: 905-0-02515-5
     ชื่อบัญชี/account name: คณะนิติศาสตร์ มธ. (ศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย) Account name: Law of TU (Legal Training and Education)

แจ้งแนบหลักฐานการชำระเงิน พร้อมแจ้งชื่อ ที่อยู่ในการออกใบเสร็จ ได้ที่: https://forms.gle/9Rw6tE4cWktnbUDGA

สถานที่อบรม

รูปแบบ Onsite ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วุฒิบัตร

ผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับสิทธิในการสอบเพื่อรับ Magnet Forensics Certificate โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

อบรมระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
รูปแบบ Onsite ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ทุกวันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์  เวลา 9.00 – 16.00 น. (หลักสูตร 84 ชั่วโมง)