โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ รุ่นที่ 13

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ รุ่นที่ 13

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันความจำเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าระหว่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศเป็นประจำ มีความจำเป็น
อย่างยิ่งที่ควรจะทราบถึง ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย : ปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อนและข้อมูลสถิติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซื้อขายระหว่างประเทศ : ข้อสัญญาต่างๆ ในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (ไม่รวม Incoterms) ซื้อขายระหว่างประเทศ : Incoterms 2010 ซื้อขายระหว่างประเทศ : หลักกฎหมายที่สำคัญ
ใน Vienna  Convention  หรือ  CISG องค์การการค้าโลก (WTO) กับการค้าระหว่างประเทศ FTA : หลักการทั่วไปในการทำข้อตกลงและกรณีศึกษา Logistics : ธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รับขนของทางทะเล : สาระสำคัญในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 รับขนของทางทะเล : วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาที่และประเด็นที่น่าสนใจ การขนส่งทางอากาศ และกรณีศึกษาที่สำคัญ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal) Finance and Payment Contract : ความหมายและความสำคัญของการชำระราคาด้วย Letter of Credit  Letter of Credit : วิธีปฏิบัติและกรณีศึกษาของธนาคาร วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการดำเนินคดีอนุญาโตตุลาการ Conflict  of  Law : Choice of Forum และคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ กรณีศึกษา การค้าระหว่างประเทศกับ ASEAN : วิกฤต หรือโอกาส กฎ ระเบียบทางการค้าที่น่าสนใจ  พิธีการนำเข้า – ส่งออกทางทะเล ประกันภัยทางทะเล : ความเข้าใจทั่วไป และหลักกฎหมายที่สำคัญ (ที่ไม่มีหรือแตกต่างจากประกันภัยทั่วไป) ประกันภัยทางทะเล : วิเคราะห์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และ

คำพิพากษาศาลฎีกา ร่าง พ.ร.บ.ประกันภัยทางทะเล พ.ศ. …. : ความแตกต่างจาก MIA 1906 นโยบายการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ เส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก วิธีระงับข้อพิพาทโดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : ลักษณะเฉพาะ อำนาจศาล และ ข้อกำหนดในคดีการค้าระหว่างประเทศ สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร การค้าชายแดน  องค์การศุลกากรโลก : นโยบาย มาตรการ แนวทาง ข้อเสนอแนะ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานศุลกากร E-commerce : สาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และผลกระทบต่อการทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายศุลกากรที่สำคัญและความผิดทางศุลกากร พระราชบัญญัติข้อสัญญาไม่เป็นธรรมกับการค้าระหว่างประเทศ ภาษีที่น่าสนใจในทางการค้าระหว่างประเทศ ประสบการณ์การประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย : บทบาทหน้าที่ในการรับ – ส่งสินค้าและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายการค้าระหว่างประเทศภาคมหาชนที่สำคัญ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว และพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มบุคคลเหล่านี้  จึงได้เปิดอบรมหลักสูตรพิเศษแก่ผู้สนใจโดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมายมาก่อน  ทั้งนี้คณะนิติศาสตร์  มุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้าอบรม
มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายการค้าระหว่างประเทศในเบื้องต้น รูปแบบการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับ
ความจำเป็นที่แท้จริงที่ควรรู้ในการดำเนินธุรกิจ  และมีชั่วโมงสัมมนาเพื่อเป็นการทบทวนหลักกฎหมายที่ศึกษามาและมีการตอบปัญหา  คำถามต่าง ๆ ในห้องสัมมนาด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้กับนักกฎหมาย นักธุรกิจ และบุคคลภายนอกผู้สนใจในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
  2. เพื่อให้นักกฎหมาย นักธุรกิจ  และบุคคลภายนอกผู้สนใจได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะความรู้
    ความเข้าใจ
  3. เพื่อให้นักกฎหมาย นักธุรกิจ และบุคคลภายนอกผู้สนใจนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
  4. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศด้วยกัน

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

นักกฎหมาย  ทนายความ นักธุรกิจ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาอบรม

วันเวลาอบรม

:     ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 25 พฤษภาคม 2567

อบรมสัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 43 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง

ทุกวันจันทร์ วันพฤหัสบดี เวลา 17.30-20.30 น.

และวันเสาร์เวลา 9.00-16.00 น.

 

หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม

(หมายเหตุ_หลักสูตรมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

 

วิทยากร

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานราชการและภาคเอกชน

ค่าอบรม

ค่าลงทะเบียนการอบรม

– ค่าลงทะเบียนอบรมคนละ 25,000 บาท รับผู้เข้าอบรมจำนวน 60 คน

การชำระเงินค่าลงทะเบียน/ค่าธรรมเนียมอบรม

โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ชื่อบัญชี   : คณะนิติศาสตร์ มธ. (ศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย)

เลขที่ บัญชี 905-0-02515-5

  • สามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้ โดยการมาใช้เครื่องรูดบัตรเครดิตที่คณะนิติศาสตร์ มธ.  ท่าพระจันทร์

(โทร. 026132169)  (เครื่องรูดบัตรเป็นของธนาคารกรุงเทพจำกัด)

  • กรุณาส่งหลักฐานการชำระเงินพร้อมแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ในการออกใบเสร็จ
    ได้ที่ Email: letec.lawtu@gmail.com

 

สถานที่อบรม

ณ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

วุฒิบัตร

ผู้เข้ารับการอบรมอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการอบรมตลอดหลักสูตร จะได้รับใบประกาศนียบัตรที่รับรองโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โครงการอรบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ รุ่นที่ 13

อบรมระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 25 พฤษภาคม 2567

ทุกวันจันทร์ วันพฤหัสบดี เวลา 17.30-20.30 น. และวันเสาร์เวลา 9.00-16.00 น.