โครงการอบรมความรู้พื้นฐานว่าด้วยบล็อกเชน (Blockchain technology), สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets): เทคโนโลยี กฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ

ชื่อโครงการ

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานว่าด้วยบล็อกเชน (Blockchain technology), สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets): เทคโนโลยี กฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ

หลักการและเหตุผล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจะเคยได้ยินและให้ความสนใจกับ buzzwords ที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการใช้ในอุตสาหกรรมการเงิน การธนาคาร และการลงทุน เช่น บล็อกเชน (Blockchain technology) NFTs (Non-Fungible Tokens) คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์กับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีมาใช้

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ก็นำมาซึ่งความท้าทายและความไม่ชัดเจนขึ้นพร้อมกัน โดยเฉพาะในเรื่องแนวนโยบาย กฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่เดิมนั้นอาจจะไม่เหมาะสม ไม่เพียงพอต่อการที่จะมาปรับใช้ในการกำกับดูแลและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้แล้วภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานผู้กำกับดูแลจะต้องดำเนินการอย่างไร

หน่วยงานผู้กำกับดูแลจึงอาจประสบกับความท้าทายในการหาจุดสมดุลระหว่างการกำกับดูแล กล่าวคือจะต้องพิจารณาถึงกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าว และคำนึงเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดไปพร้อมกัน

ความพยายามหาจุดสมดุลข้างต้น ได้ถูกสะท้อนให้เห็นผ่านทางกฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในหลายประเทศ ซึ่งมีแนวทางในการกำกับดูแลการนำเทคโนโลยีใหม่ไปใช้ กำกับดูแลกรณีของสินทรัพย์คริปโทและธุรกิจที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ทั้งนี้เป็นไปตามบริบทและความพร้อมแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เช่นในเรื่องปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน แนวนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ ที่แตกต่างกัน ประเด็นในเรื่องของหน่วยงานผู้กำกับดูแล ประเด็นเรื่องความพร้อมและทรัพยากรที่จำเป็น เช่น ทรัพยากรบุคคล และอื่น ๆ รวมถึงประเด็นเรื่องการศึกษากรอบกฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวทางในการกำกับดูแลของแต่ละประเทศ เป็นต้น

จากปัจจัยต่าง ๆ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตรการอบรมนี้ขึ้นเพื่อทำให้เห็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีไปใช้ อันนำมาซึ่งความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงไปของแนวทางในการกำกับดูแลโดยการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์ใหม่ แนวทางในการการกำกับดูแลโดยการปรับใช้กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม แนวทางในการกำกับดูแลโดยใช้ innovative regulative tools (ใช้ประกอบเพื่อให้การกำกับดูแลมีความยืดหยุ่น และครอบคลุมถึงกรณีที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงอยู่เดิม) และแนวทางในการกำกับดูแลด้วยตนเอง (self-regulatory initiatives) ดังนี้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงนักกฎหมายเองก็มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจลักษณะของเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อปรับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการออกแบบแนวนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ให้มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ

 

วัตถุประสงค์

(1) เพื่อสนับสนุนและพัฒนานักกฎหมาย นักวิจัย นักวิชาการต่างๆ ให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ และเกิดการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

(2) เพื่อเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และกรณีศึกษา ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ และการกำกับดูแล เพื่อปรับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการออกแบบแนวนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ

(3) เพื่อให้ผู้อบรมสามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ศึกษา เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการ ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

หลักสูตรอบรมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เบื้องต้น และต้องการเข้าใจโลกธุรกิจในยุคดิจิทัล การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการใช้ในอุตสาหกรรมการเงิน การธนาคาร และการลงทุน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้และเข้าใจ จนไปถึงการกำหนดกลยุทธให้กับองค์กรในอนาคต

  • เนื้อหาหลักสูตรเหมาะสำหรับผู้สนใจทั้งที่เป็นนักกฎหมาย วิศวกร รวมถึงผู้สนใจทั่วไป
  • ผู้บริหารที่ทำงานเกี่ยวกับ การเงินการธนาคาร ประกัน อสังหาริมทรัพย์ การบริหารความเสี่ยง
  • Start-up หรือหัวหน้าทีม FinTech/Innovation ในองค์กรขนาดใหญ่
  • Regulator / Government: บุคลากรจากหน่วยงานกำกับดูแลหรือหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานเชิงนโยบายในด้านที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไว้เป็นพิเศษ (ผู้ที่เป็นนักกฎหมายและผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายสามารถสมัครอบรมได้)

 

ระยะเวลาอบรม

อบรมระหว่าง วันที่ 4 – 25 พฤศจิกายน 2566 (รวม 26 ชั่วโมง ) รายละเอียด ดังนี้

เสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00-12.00 น.และ 13.30-16.30 น.

อาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30-16.30 น.

เสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.30-12.30 น.และ 13.30-16.30 น.

เสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.30-12.30 น.และ 13.30-16.30 น.

เสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.30-12.30 น.และ 13.30-16.30 น.

หลักสูตรการอบรม

ครั้งที่ 1 ความหมาย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน กรณีศึกษาของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในทางปฏิบัติ (เช่น Defi, DAO, Smart contract, NFT) และเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการทางด้านเทคนิค เช่น การเปิด wallet การทำ NFT (ทางด้านเทคนิค)
ครั้งที่ 2 แนวทางในการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย
ครั้งที่ 3 ปัญหา และข้อสังเกตในทางปฏิบัติ
ครั้งที่ 4 ความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญา กรณีศึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล เเละบล็อกเชน
ครั้งที่ 5 ความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในต่างประเทศ และคดี กรณีศึกษาตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมาย (1) (เช่น กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานะของสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมาย การกำกับดูแลตัวกลาง เป็นต้น)
ครั้งที่ 6 การฟ้องร้อง และดำเนินคดีทางศาล
ครั้งที่ 7 รูปแบบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกรณีศึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล
ครั้งที่ 8 web 3.0 อนาคตของ compliance และการกำกับดูแล
ครั้งที่ 9 ความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในต่างประเทศ และคดี กรณีศึกษาตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมาย (2) (เช่น กฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาษี ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น)
บรรยายพิเศษ Cryptoassets in Private Law: Emerging Trends and Open Questions from the First 10 Years

ดาวน์โหลดตารางบรรยาย (Blockchain technology) คลิกที่นี่

วิทยากร

วิทยากรจากคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และหน่วยงานราชการ

วิทยากรพิเศษ (Associate Professor of Law at SMU Yong Pung How School of Law and Director of the SMU Centre for AI & Data Governance)

ค่าอบรม

ค่าลงทะเบียน คนละ 12,000 บาท

รับจำนวนจำกัด 50 คน (ปิดรับสมัครทันที เมื่อผู้สมัครเต็มจำนวน)

การชำระเงิน/Payment:

เงินโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์/Money transfer to BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

เลขที่บัญชี/account number: 905-0-02515-5

ชื่อบัญชี/account name: คณะนิติศาสตร์ มธ. (ศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย)

แจ้งแนบหลักฐานการชำระเงิน ได้ที่: https://bit.ly/3hkQCbv

สถานที่อบรม

รูปแบบออนไลน์ Cisco WebEX

วุฒิบัตร

ที่คณะฯ ถือว่าผ่านการอบรม จะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% (นับเฉพาะกรณีเรียนสดทั้งในสถานที่และทางออนไลน์เท่านั้น) จึงจะสามารถได้รับใบประกาศนียบัตรจากคณะนิติศาสตร์

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานว่าด้วยบล็อกเชน (Blockchain technology), สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets): เทคโนโลยี กฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ (Online)

อบรมระหว่าง วันที่ 4 – 25 พฤศจิกายน 2566

วันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.30 – 16.30 น. (หลักสูตร 26 ชั่วโมง)

รับจำนวนจำกัด 50 คน ค่าลงทะเบียน คนละ 12,000 บาท